ข้อต่อลมคุณภาพมาตรฐานจาก SMC
ข้อต่อลม หรือ ฟิตติ้งลม (Pneumatic Fittings)
ข้อต่อลม ชุดผลิตภัณฑ์ของ SMC ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ในงาน Pneumatic ..ด้วยประสบการณ์ในการผลิตชิ้นส่วนข้อต่อลมที่ชำนาญ แม้จะเป็นเพียงจุดเล็กๆ น้อยๆ ในสายงานของระบบ ทุกชิ้นส่วน ทุกอุปกรณ์นั้นของข้อต่อลมที่ใช้ ล้วนมีความสำคัญ ที่ไม่อาจมองข้ามไปได้ แม้จะเป็นเพียงชิ้นส่วนที่ธรรมดา ข้อต่อลม (Air Fitting) หรือ ฟิตติ้ง (Fitting) ก็เช่นเดียวกัน
ข้อต่อลม เป็นข้อต่อสำหรับใช้เสียบกับ "สายลม" ใช้ร่วมกันกับอุปกรณ์นิวเมติกส์ โดยมีหน้าที่ในการเชื่อมต่อระหว่างตัวอุปกร์นิวเมติกส์ กับชุดสายลม หรือต่อเชื่อมระหว่างตัวของสายลมกับสายลมด้วยกันเอง
ข้อต่อลม หรือ ฟิตติ้งลม (Pneumatic Fitting) ของ SMC เป็นอุปกรณ์ Fitting ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เพื่อใช้สำหรับเชื่อมต่อระบบสายลมกับอุปกรณ์นิวเมติกส์แบบต่างๆ เพื่อควบคุมความดันและทิศทางการไหลของลม ซึ่ง ข้อต่อลม (Fittings) แต่ละแบบก็มีให้เลือกใช้งานที่หลากหลาย ต่างกันกันไป
ขึ้นอยู่กับชนิดของงานในแต่ละส่วนนั้นๆ เราอาจจำแนกชนิดของข้อต่อลม Fitting ได้หลายแบบ เช่น อาจจะแบ่งชนิดตามวัสดุและ แบ่งชนิดตามลักษณะการใช้งาน เช่น ข้อต่อลมพลาสติก ข้อต่อลมสวมเร็ว หรือข้อต่อลมโลหะ-ทองเหลือง ซึ่งข้อต่อสายลมนี้ เป็นอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมมากในสายงานของระบบ Pneumatic เนื่องจากมีราคาไม่แพง สะดวกในการติดตั้ง และนำไปใช้งานในรูปแบบต่างๆ
วัสดุที่นำมาผลิตชิ้นส่วนของข้อต่อลม ก็มีส่วนสำคัญเป็นอันดับต้นๆ คือกัน หากนำวัสดุที่ไม่เหมาะสมมาผลิตนอกจากไม่เป็นผลดีต่อการใช้งานแล้ว ยังจะทำให้มีอายุการใช้งานที่น้อยลงกว่าที่ควรเป็น
3.) การใช้งานที่ง่าย และสะดวก
ข้อต่อลม หรือ Fittings (ฟิตติ้ง) ที่ดีนั้น ต้องเริ่มที่รูปแบบการใช้งาน ในส่วนของจุดล๊อค และเกลียว คือต้องต่อง่าย ล็อคแน่นหนา และถอดได้ง่าย สะดวกต่อการใช้งานในทุกรูปแบบ
ทีนี้เรามาดูรูปแบบต่างๆ ของข้อต่อลม กันดีกว่า ว่ามีกี่ประเภท
ซึ่งข้อต่อลมที่ใช้กันอยู่ในงานนิวเมติกส์ ที่เห็นกันทั่วไปตามงานต่างๆ สามารถแบ่งแยกประเภทได้ 2 ประเภทหลักๆ คือ
1. ข้อต่อลม (Fittings) ที่ใช้สำหรับ "ต่อกับอุปกรณ์ลม" ลักษณะเป็นเกลียวที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ลม และอีกด้านจะใช้เชื่อมต่อกับสายลม โดยจะมีรูปแบบต่างๆ ให้เลือกใช้งาน ได้แก่ ข้อต่อตรง ข้อต่องอ ข้อต่อสามทาง และข้อต่อที่มีมากกว่าสามทาง
2. ข้อต่อลม (Fittings) ที่ใช้สำหรับ "ต่อกับสายลม" ทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อกับสายลม โดยจะทำให้สายลมมีความยาวขึ้น ซึ่งจะมีตั้งแต่สองทางขึ้นไปเพื่อเพิ่มทิศทางลมให้กระจายไปได้หลายทาง เพื่อให้เหมาะสมกับงาน
1.) ฟิตติ้งสำหรับต่อกับอุปกรณ์ลม (Thread Type One-Touch Fittings ) คือจะเป็นเกลียวอยู่ด้านหนึ่ง จะเป็นตัวผู้หรือตัวเมียก็ได้ เพื่อขันติดตั้งกับตัวอุปกรณ์ลม อีกด้านหนึ่งก็ใช้สำหรับเสียบกับสายลม ซึ่งจะมีการต่อใช้งานได้หลายรูปแบบ โดยขึ้นอยู่กับการใช้งานในแต่ละประเภท แบ่งได้เป็น
1.1 ) ข้อต่อลม (Fitting) เสียบสายลมแบบ 2 ทาง ใช้กับงานที่ต้องต่อกับอุปกรณ์ลมโดยตรงในฝั่งที่เป็นเกลียว อีกฝั่งเสียบสายลม 1 ข้าง
- ข้อต่อลมเสียบสายลมแบบตรง หรือ "ข้อต่อตรง"
ข้อต่อลม ต่อตรงเกลียวนอก | ข้อต่อลม ต่อตรงเกลียวใน |
- ข้อต่อลม เสียบสายลมแบบงอ 90 องศา หรือที่เรียกว่า "ข้อต่องอ" ช่วยปรับเปลี่ยนทิศทางของสายลม
ข้อต่องอแบบยาว | ข้อต่องอเกลียวนอก | ข้อต่องอเกลียวใน | ข้องอเบนโจ |
1.2 ) ข้อต่อลม (Fitting) เสียบสายลมแบบ 3 ทาง ใช้กับงานที่ต้องต่อกับอุปกรณ์ลมในฝั่งที่เป็นเกลียว อีกฝั่งเสียบสายลมแยกออกได้ 2 ข้าง เพื่อให้กระจายลมไปใช้งานพร้อมกันได้ทั้ง 2 ตำแหน่ง
- ข้อต่อลมเสียบสายลม 3 ทาง รูปตัว T (T Connector)
ข้อต่อลม 3 ทางเกลียวกลาง | ข้อต่อลม 3 ทางเกลียวข้าง |
- ข้อต่อลมเสียบสายลม 3 ทาง รูปตัว Y (Y Connector)
ข้อต่อลม 3 ทางตัว Y เกลียวกลาง |
- ข้อต่อลมเสียบสายลม 3 ทาง แบบตัวเรียงต่อ (Branch Connector)
ข้อต่อลม 3 ทาง แบบเรียงต่อ |
1.3 ) ข้อต่อลม (Fitting) เสียบสายลมหลายทาง คือรูเสียบสายลม มีมากกว่า 3 ทางขึ้นไป ใช้กระจายสายลมไปหลายจุดอย่างทั่วถึง ให้เหมาะสมตามการใช้งาน
- ข้อต่อลมเสียบสายลมหลายทาง ซึ่งได้มีการออกแบบมาให้เหมาะสมกับการใช้งานในรูปแบบต่างๆ จะมีทั้งรูปแบบกากบาท (Cross Connector) และแบบตัวเรียงต่อ (Branch Connector)
ข้อต่อลม แบบเสียบสายลมหลายทาง |
2.) ฟิตติ้งสำหรับต่อกับสายลม (Tube-Tube Type One-Touch Fittings ) อธิบายได้ง่ายๆ คือหัวที่ใช้ต่อ จะเป็นหัวที่ใช้เสียบสายลมทั้ง 2 ด้าน เพื่อใช้ต่อสายเพิ่มความยาวของสายลม ใช้ลดขนาดของสายลม หรือเพิ่มช่องจ่ายลมให้มากขึ้น ในลักษณะของงานต่างๆ ที่อาจแตกต่างกันไป อาจจำแนกรูปแบบได้ดังนี้
2.1 ) ข้อต่อลม (Fitting) เสียบสายลม 2 ด้าน
- ข้อต่อลมเสียบสายลม 2 ด้าน สามารถแบ่งได้เป็น แบบต่อชน ( Union ) กับแบบต่อลดขนาด ( Reducer connector )
- แบบเสียบสาย 2 ด้าน แบบต่อตรง
ข้อต่อตรงชน | ข้อต่อลดขนาด | ข้อต่อยึดแผง |
- แบบเสียบสาย 2 ด้าน แบบข้องอ 90 องศา
ข้อต่องอชน 90 องศา | ข้อต่องอชน มีเกลียว |
2.2 ) ข้อต่อลม (Fitting) เสียบสายลม 3 ด้าน
- เสียบสายลมแบบ 3 ด้าน มีทั้งแบบด้านที่เสียบสายลมเข้า-ออก (Union) เท่ากันทั้ง 3 ด้าน และแบบเสียบสายเข้า-ออก ไม่เท่ากัน (Different Union)
- แบบเสียบสาย 3 ด้าน แบบรูปตัว T ( T Union )
ข้อต่อแบบเสียบสาย 3 ด้าน แบบตัว T (T Union) |
- แบบเสียบสาย 3 ด้าน แบบรูปตัว Y ( Y Union )
ข้อต่อแบบเสียบสาย 3 ด้าน แบบตัว Y (Y Union) |
2.3 ) ข้อต่อลม (Fitting) เสียบสายลมหลายทาง
- เสียบสายลมมากกว่า 3 ทางขึ้นไป โดยได้มีการออกแบบมาให้เหมาะสมกับการใช้งานในรูปแบบต่างๆ จะมีทั้งรูปแบบกากบาท (Cross Union) และแบบตัวเรียงต่อ (Branch Union)
ข้อต่อลม แบบเสียบสายลมหลายทาง |
นอกจากนี้ ทาง SMC ยังมีการออกแบบข้อต่อลม ให้เหมาะสมกับการใช้งานในรูปแบบต่างๆ อีกด้วย
ข้อต่อลม พลาสติก | ข้อต่อลม โลหะ | ข้อต่อลม ขนาดเล็ก |